หูชั้นกลางของมนุษย์นั้นจะมีลักษณะเป็นโพรง และติดต่อกับโพรงจมูกและมีท่อติดต่อกันกับคอหอยที่เรียกว่า ท่อยูสเตเชียน ซึ่งปกติท่อนี้จะปิด แต่ว่าในขณะเคี้ยวหรือกลืนอาหารท่อนี้ก็จะขยับเปิดเพื่อปรับความดันของหู ทั้ง 2 ด้านของเยื่อแก้วหูให้เท่ากัน
เพราะ ถ้าหากความดันไม่เท่ากัน ก็จะทำให้หูอื้อได้ ส่วนความแตกต่างระหว่างความดันอากาศภายนอกและความดันอากาศภายในหูชั้นกลางนั้นอาจทำให้เยื่อแก้วหูถูกดันให้พองออกหรือถูกดันเข้าได้ ซึ่งจะทำให้การสั่นและการนำเสียงของเยื่อแก้วหูลดลงและหากว่ามีการอุดตันของท่อนี้ก็จะทำให้หูอื้อหรือปวดหูได้นั้นเอง
ร่างกายจึงมีการปรับความดันในช่องหูชั้นกลางโดยจะผ่านแรงดันอากาศบางส่วนไปทางท่อยูสเตเชียน ซึ่งถ้าหากมีเชื้อโรคในคอหรือในจมูกก็จะมีผลให้เชื้อโรคเข้าสู่หูชั้นกลางทางท่อนี้ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบในหูได้ง่ายขึ้นนั้นเอง ฉะนั้นก็ต้องดูแลให้ดีไม่ให้มีเชื้อโรคที่คอ
หรือจมูกเพื่อเลี่ยงไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ส่วนโครงสร้างของอวัยวะในหูชั้นกลางที่สำคัญนั้น จะมีดังต่อไปนี้ กระดูกภายในหูชั้นกลางก็ประกอบด้วย กระดูกค้อน กระดูกทั่ง กระดูกโกลน กระดูกทั้ง 3 ชิ้น จะยึดติดกันเป็นระบบ เพื่อจะนำคลื่นเสียงที่มากระทบกันเข้าไปสู่หูชั้นในนั้นเอง ส่วนกล้ามเนื้อของหูชั้นกลางนั้น จะมี 2 มัด กล้ามเนื้อทั้งสองมันนี้จะมีหน้าที่ทำให้แก้วหูที่อยู่ในหูนั้นตึง
โดยถูกดึงเข้าข้างใน ซึ่งจะช่วยทำให้เพิ่มความถี่ให้กับ เสียงสะท้อนของระบบการนำเสียงซึ่งจะทำให้รับเสียงที่มีความถี่ต่ำและรับเสียงได้ดีขึ้น และเพื่อช่วยป้องกันหูชั้นในจากเสียงที่ดังมากๆจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
ซึ่งถ้าหากหูของเราได้รับเสียงที่ดังๆมากๆเป็นเวลานานอาจะทำให้หูเกิดอาการเจ็บหรือหูดึงได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสองมัดก็จะช่วยปรับและป้องกันการกระเทือนต่อหูชั้นกลางและหูชั้นในที่มีสาเหตุจากเสียงที่ดังมากๆ
โดยเฉพาะเสียงที่มากระทบกับเยื่อแก้วหูซึ่งมีความดังเกิน 85 เดซิเบลนั้นเอง เนื่องจากว่าโครงสร้างของหูชั้นกลางที่ติดต่อกับหูชั้นนอกที่อยู่ใกล้กับเยื่อแก้วหู และติดต่อกับคอ ทางท่อยูสเตเชี่ยน ติดต่อกับหูชั้นในทางหน้าต่างรูปไข่ และหน้าต่างรูปกลม
โดยทั้งช่องหน้าต่างรูปไข่และรูปกลมนั้นก็จะมีเยื่อบางๆ กั้นอยู่ ซึ่งช่วยให้หูชั้นกลางสามารถทำหน้าที่สำคัญทั้ง2 อย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ การขยายเสียง และการป้องกันเสียงดังนั้นเอง
ได้รับการสนับสนุนโดย เครื่องช่วยฟัง