ประโยชน์และโทษของมะเฟือง

ประโยชน์และโทษของมะเฟือง

มะเฟือง (Star fruit) มีมีวิตามินA วิตามินC วิตามินE โปแตสเซียม เบต้าแคโรทีน และมีเอสโตรเจนสูง
ช่วยสร้างเซลล์กระดูก ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อร่างกายทั้งหมด หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

การทานมะเฟือง

– ทานมะเฟืองสดๆ
– ปั่นคั้นน้ำกิน
– มะเฟืองแช่อิ่ม
– มะเฟืองอบแห้ง
– มะเฟืองกวนอบแห้ง จะได้เอสโตรเจนสูงมาก

ประโยชน์อื่นๆ ของมะเฟือง
– หมักมะเฟืองและนำน้ำมา ทำเป็นโลชั่นนบำรุงผิว จะทำให้ผิวพรรณ ได้รับเอสโตรเจน
โดยตรง และช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ผิวหนังได้ดีมาก
– ช่วยลบริ้วรอยแผลเป็นต่างๆ เพราะมะเฟืองนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก
– ทำเป็นเวชสำอางค์ช่วยลดการเกิดสิว จุดด่างดำจะค่อยๆจางหายไป ทำให้ใบหน้าขาวใส ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย วิธีการทำ คือ นำมะเฟืองมาผ่าแล้วแตะให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้สักครู่ล้างออก ทดลองดูก่อนนะว่าแพ้หรือไม่ ปกติผิวจะแพ้ง่ายแต่ลองใช้มะเฟืองดูไม่แพ้ จะเอามะเฟืองเข้าตู้เย็น แล้วนำมาผ่า แนบที่ใบหน้า เย็นชุ่มฉ่ำดี
มะเฟือง (Star fruit) มีฤทธิ์เป็นกรด นำมาทำความสะอาดโลหะที่เป็นสนิม และขัดทำความสะอาดทองเหลืองก็ได้

โทษของมะเฟือง
คำโบราณที่ว่าอย่ากินมะเฟืองมาก เพราะจะทำให้เลือดจาง ด้วยความที่มะเฟืองมีฤทธิ์เย็น หญิงมีครรภ์ไม่ควรกิน และมะเฟืองมีกรดออกซาลิกซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลที่เป็นโรคไตวาย นิ่วในไตหรือผู้อยู่ภายใต้การฟอกไต

ทั้งนี้หากจะใช้มะเฟืองเพื่อประโยชน์อย่างไรก็ควรศึกษาและพิจารณาถึงเรื่องอื่นๆ ประกอบด้วย เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อเรามากกว่าโทษ

ระบบย่อยอาหาร สำคัญขนาดไหน

ระบบย่อยอาหาร เป็นระบบที่สำคัญของร่างกายอีกระบบ แต่ทุกคนก็เลือกที่จะมองข้ามมันไป ระบบย่อยอาหารแท้จริงแล้วควรที่จะใส่ใจมันเพราะว่าทุกสิ่งที่ทานเข้าไปต้องได้รับการย่อย และดูดซึมอย่างเป็นระบบ หากเกิดความผิดปกติของอวัยวะที่ใช้ในการย่อยอาหารก็จะส่งผลให้ระบบทำงานขัดข้อง จะส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย และอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

สังเกตอย่างไรว่าระบบย่อยอาหารมีปัญหา
หากคุณกำลังประสบปัญหากชหรือเป็นอาการที่จะพูดถึงต่อไปนี้ ขอให้ทราบว่าเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่เริ่มบ่งบอกว่าระบบย่อยอาหารของคุณอาจมีปัญหา

1. ปวดท้อง
อาการปวดท้องถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับคนส่วนใหญ่ โดยที่ไม่ทันใส่ใจมันว่าอาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น เพราะว่าความผิดปกติเหล่านี้มักหายไป แต่ใครที่ปวดท้องที่เดิมบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหา หรือโรคร้ายอะไรบางอย่างได้

• ปวดท้องด้านขวาตอนบน อาจเกิดจากโรคตับ และถุงน้ำดี
• ปวดท้องบริเวณใต้ซี่โครง อาจเกิดขึ้นพร้อมกับอาการแสบกระเพาะอาหาร จึงอาจเป็นโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบ และบางครั้งโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ถุงน้ำดีก็อาจเกิดขึ้นในบริเวณส่วนท้องที่เป็นแอ่งได้
• ปวดท้องส่วนกลาง อาจเป็นโรคที่เกิดขึ้นที่ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ และอาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ เพราะมักมีอาการปวดท้องที่บริเวณนี้ก่อน แล้วจึงเลื่อนมาเป็นส่วนล่าง
• ปวดท้องด้านซ้ายตอนบน อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ที่เกิดในลำไส้ใหญ่ เช่น โรคท้องผูกหรืออาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ แต่หากมีอาการแสบกระเพาะอาหาร ก็อาจเกิดจากกรดและอาการเจ็บปวดเนื่องจากแผลในกระเพาะ
• ปวดท้องด้านขวาตอนล่าง อาจเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบอย่างเฉียบพลัน หรืออาการอักเสบของลำไส้
• ปวดท้องด้านซ้ายตอนล่าง หากมีอาการปวดและคลายสลับกัน พร้อมกับอาการท้องร่วง หรือเกิดจากอาการท้องผูก อาจเกิดจากโรคถุงผนังที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือมีความผิดปกติ เช่น ถุงน้ำ หรือเนื้องอกที่รังไข่ หรือมดลูก

2. ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดท้องหลังรับประทานอาหารก็คงเป็นเรื่องปกติของคนสมัยนี้ เพราะได้อาหารที่หลากหลาย กับกิจวัตรที่เร่งรีบทำให้ไม่ทันได้ฉุกคิด แต่จริงๆ แล้ว หากมีอาการเหล่านี้มากๆ ท้องอาจจะเกิดการเกร็งได้ และอาจมีอาการข้างเคียงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เรอบ่อย เรอเหม็นเปรี้ยว ผายลมบ่อย ท้องใหญ่ขึ้น หรือท้องผูก และท้องเสียร่วมด้วย ผู้ที่มีอาการดังกล่าวจะยังคงรับประทานอาหารได้ตามปกติ น้ำหนักไม่ลด และส่วนมากมักมีน้ำหนักเกิน อาการเหล่านี้หากเป็นบ่อยๆ อาจสันนิษฐานว่ากระเพาะอาหาร หรือลำไส้ทำงานไม่ปกติ

3. กลืนลำบาก
หากคุณพบว่าตัวเองมีอาการกลืนอาหารได้ลำบากมากขึ้น แสดงว่าอาจจะก้อนเนื้อเกิดขึ้นในหลอดอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นก้อนมะเร็งในทางเดินอาหาร หรือหลอดอาหารได้ แต่อาจเป็นเพราะระบบการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร หรือระบบประสาททำงานไม่ดีได้ด้วยเช่นกัน หากกลืนอาหารประเภทของแข็ง เช่น เนื้อสัตว์ แล้วติด โดยเฉพาะตรงกลางอก อาจสันนิษฐานว่ามีก้อนเนื้อ หรือก้อนมะเร็งอยู่ในหลอดอาหาร หรือบริเวณใกล้เคียง แต่หากกลืนอาหารทั้งของเหลว และของแข็งได้ลำบากตั้งแต่ต้น อาจเกิดจากการบีบตัวไม่เป็นจังหวะของหลอดอาหาร อาการนี้อาจเป็นๆ หายๆ ได้เช่นกัน

4. แสบกลางอก
หากพบว่ามีอาการแสบกลางอกในตอนกลางคืน อาจประเมินได้ว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเกิดจากหูรูดที่หลอดอาหารปิดไม่สนิท กรดที่ไหลย้อนขึ้นมานี้อาจทำให้อักเสบ เป็นแผล หรือเลือดออกได้ อาการชัดเจนคือ แสบร้อนกลางอก และจะมีอาการดังกล่าวในเวลานอนตอนกลางคืน เวลานอนอาจจะมีอาการไอ สำลัก หอบ ซึ่งอาจทำให้นึกว่าเป็นโรคปอด โรคหัวใจ แต่ไม่ใช่ ดังนั้นหากมีอาการแสบกลางอกในช่วงเวลากลางคืนต้องนึกถึงกรดไหลย้อนเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตามอาการแสบที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากกาที่ทานอาหารมื้อหนักมา แล้วไปยกของหนัก หรือไม่ได้นั่งให้อาหารย่อยก่อน ดันนอนเลยแล้วนอนหงายขึ้น อาจจะเกิดการไหลของกรดย้อนขึ้นมาทำให้เกิดอาการแสบได้เช่นกัน

หากอาการผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อย มากกว่า 2-3 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ หรือมีอาการเป็นๆ หายๆ บ่อยเกินไป ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดจากแพทย์ เพราะหากปล่อยอาการนี้ไว้นานวันเข้าจะลุกลามเรื่อยๆ โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้รักษายากขึ้น และไม่หายขาดได้

เลือกให้เหมาะกับร่างกาย คาร์ดิโอ หรือ เวทเทรนนิ่ง

จริงๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายประเภทใด ด้วยวิธีไหน ก็ส่งผลดีต่อร่างกายได้ทั้งนั้น เพียงแต่หากเรามีความกังวลในเรื่องของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ว่าเป็นไปอย่างที่เราตั้งใจหรือไม่ เช่น ออกกำลังกายเพื่อการลดน้ำหนัก เพื่อการสร้างกล้ามเนื้อ หรือเพื่อให้ได้สุขภาพร่างกายโดยรวมที่แข็งแรงจากภายในสู่ภายนอก วิธีการออกกำลังกายแต่ละอย่างจะให้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนกัน

คาร์ดิโอ คืออะไร?
การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อของหัวใจ และปอดให้แข็งแรง ช่วยลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่หัวใจ และปอดได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ ปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ และยังเผาผลาญพลังงานจากการทานอาหารส่วนเกินได้อีกด้วย

คาร์ดิโอ เหมาะกับใคร?
การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เหมาะกับผู้ที่มีความกังวลในเรื่องของสุขภาพหัวใจ หลอดเลือด ความดันโลหิต ปอด รวมไปถึงคนที่อยากลดน้ำหยัก ลดความอ้วน และคนที่สนใจดูแลสุขภาพโดยรวม อยากมีภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรง ชะลอความเสื่อมของส่วนต่างๆ ในร่างกาย อยากให้ตัวเองไม่เหนื่อยง่าย มีแรงเดินวิ่ง หรือขึ้นบันได ปีนเขาได้สบายๆ เป็นต้น

คาร์ดิโอ ออกกำลังกายด้วยวิธีใดบ้าง?
การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือแบบที่มีแรงกระแรกสูง และแรงกระแทกต่ำ

การออกกำลังกายคาร์ดิโอในแบบแรงกระแทกสูง เหมาะสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องของกระดูก หรือน้ำหนักตัวที่มากเกินไป

  • วิ่ง
  • กระโดดเชือก
  • เต้นแอโรบิก หรือออกกำลังกายด้วยท่าทางพื้นฐานหนักๆ เช่น T25
  • เต้นซุมบ้า

การออกกำลังกายคาร์ดิโอในแบบแรงกระแทกต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความกังวลในปัญหากระดูก เช่น กระดูกข้อเท้า กระดูกหัวเข่า หรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไป จึงไม่สามารถรองรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นจากการใช้แรงขาลงกับพื้นหนักๆ

  • ขี่จักรยาน
  • ว่ายน้ำ
  • เดิน
  • พายเรือ
  • ออกกำลังกายบนเครื่องเดินวงรี (Elliptical trainer)
  • ออกกำลังกายด้วยเครื่องปั่นจักรยานท่อนบน (Upper Body Ergometer)
  • ออกกำลังกายในน้ำ

ระยะเวลาในการเล่นคาร์ดิโอ
ไม่ว่าคุณจะเลือกวิธีการออกกำลังกายแบบไหน ขอให้ใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีเป็นต้นไป และออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีพัก หรือพักในแต่ละครั้งไม่เกิน 5 นาที เลือกระดับความเร็ว และความยากในการออกกำลังกายให้เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป เน้นออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องให้นาน มากกว่าที่จะเน้นเรื่องของการทำเวลาให้เร็วแต่ได้ไม่นาน เช่น ความเร็วในการวิ่ง ความชันในการปั่นจักรยาน หรือความยากของท่าแอโรบิกไม่ต้องมาก แต่ขอให้เน้นการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องมากกว่า เมื่อร่างกายปรับคุ้นชินกับระดับเดิมๆ ได้แล้ว ให้ค่อยๆ ปรับท่าให้ยากขึ้น หรือความเร็วให้มากขึ้นทีละเล็กละน้อย

เวทเทรนนิ่ง คืออะไร?
เวทเทรนนิ่ง เป็นการออกกำลังกายฝึกกล้ามเนื้อที่อาศัยแรงของน้ำหนักจากอุปกรณ์ต่างๆ ในการเพิ่มแรงต้านทาน (หรืออาจจะเป็นน้ำหนักของร่างกายตัวเอง) เมื่อเพิ่มแรงต้านทานให้กับกล้ามเนื้อเป็นประจำ จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการปรับตัว และแข็งแรงขึ้น สามารถต้านทานกับแรง หรือน้ำหนักต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

เวทเทรนนิ่ง เหมาะกับใคร?
การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งเหมาะกับคนที่อยากมีรูปร่างทรวดทรงองค์เอวที่กระชับเข้ารูป และได้สัดส่วนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งผู้ชายที่อยากเพิ่มกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ หรือสร้างซิกซ์แพ็คบนหน้าท้อง นอกจากเรื่องของรูปร่างแล้ว การเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อยังมีความสำคัญในการเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย สามารถออกแรงได้มากขึ้น เช่น ยกของหนักได้ ออกแรงเตะชกต่อยได้แรงขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นผลดีต่อร่างกายโดยรวมเมื่ออายุมากขึ้น มวลของกล้ามเนื้อจะค่อยๆ ลดลง ดังนั้นหากรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเอาไว้เหมือนเดิม นอกจากรูปร่างจะกระชับเป็นสัดส่วนได้เหมือนเดิมแล้ว ยังช่วยลดไขมันตามอวัยวะต่างๆ ได้อย่างเห็นผลอีกด้วย

เวทเทรนนิ่ง ออกกำลังกายด้วยวิธีใดบ้าง?
การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง จำเป็นต้องมีตัวช่วยที่เพิ่มแรงต้านทานให้กับกล้ามเนื้อ ได้แก่ ดัมเบล ตุ้มน้ำหนัก อุปกรณ์ยกน้ำหนักต่างๆ ในฟิตเนส หรืออาจจะเป็นการออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักของตัวเองเป็นแรงต้านทานเอง เช่น บาร์โหนตัว เป็นต้น

คนที่เริ่มต้นออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งเป็นครั้งแรก ควรได้รับคำแนะนำจากเทรนเนอร์ หรือผู้เชี่ยวชาญก่อน เพราะหากใช้น้ำหนัก หรือท่าทางในการออกกำลังกายผิดวิธี อาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บ กล้ามเนื้อฉีกขาด หรือถึงขั้นกระดูกหักได้ หรืออาจจะค้นหาคลิปวิดีโอในอินเตอร์เน็ต แล้วออกท่าทางตามในคลิปอย่างเคร่งครัดได้เช่นกัน

ระยะเวลาในการเล่นเวทเทรนเนอร์
น้ำหนักที่ใช้ยกในเบื้องต้น ควรเริ่มจากน้ำหนักเบาๆ ก่อน เน้นน้ำหนักที่ไม่หนักมาก แต่ยกได้หลายครั้ง ดีกว่าการเลือกน้ำหนักที่หนักมาก แต่ยกได้ไม่นาน ฝึกในน้ำหนักที่คิดว่าพอทนไหวไปราวๆ 3-4 สัปดาห์ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักมากขึ้น หรือเพิ่มความยากของท่าที่ใช้ออกกำลังกายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย ที่สำคัญคือการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องราว 30 นาทีขึ้นไป หรือพักในแต่ละครั้งไม่เกิน 5 นาที

นอกจากนี้พยายามเล่นเวทเทรนนิ่งให้ได้หลายๆ ส่วน อย่าเน้นไปที่ส่วนใดส่วนเดียว เช่น เขน ขา หน้าท้อง สะโพก แตต่ให้เล่นสลับๆ กันไปในแต่ละวัน เช่น วันจันทร์เล่นส่วนขากับสะโพก วันอังคารเล่นส่วนหน้าท้องกับแขน เป็นต้น เพราะหากมีอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ จะได้พักกล้ามเนื้อส่วนนั้นแล้วไปเล่นกล้ามเนื้อส่วนอื่นก่อนแทน

เราเหมาะกับการออกกำลังกายแบบไหน?
จริงๆ แล้ว อยากแนะนำให้ออกกำลังกายทั้งสองอย่างควบคู่กันไปด้วย เพราะหากอยากคาร์ดิโอให้ได้เต็มที่ ต้องอาศัยกล้ามเนื้อที่แข็งแรงในการวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือเต้นแอโรบิก รวมถึงการเวทเทรนนิ่งที่ยังต้องการคาร์ดิโอมาเสริมให้มีพละกำลังที่จะออกแรงมากๆ ได้เรื่อยๆ เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม หมอผิง หรือ พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล อธิบายว่า ลำดับการออกกำลังกายก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันได้ หากอยากเน้นการเผาผลาญพลังงานเพื่อการลดน้ำหนัก และเน้นกระชับรูปร่าง สร้างกล้ามเนื้อ ให้เล่นเวทเทรนนิงก่อนคาร์ดิโอ แต่ถ้าหากอยากเน้นพัฒนาการในการวิ่ง เพื่อการวิ่งมาราธอน ควรวิ่ง หรือเล่นคาร์ดิโอก่อนเวทเทรนนิ่ง หรือออกกำลังกายแต่ละประเภทแยกไปในแต่ละวัน

นอกจากนี้ หากมีอายุที่มากขึ้นแล้ว ร่างกายอาจไม่แข็งแรงเท่าสมัยยังเป็นวัยรุ่น วัยทำงาน อาจลองออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอเบาๆ ก่อน แล้วค่อยเริ่มเล่นเวทเทรนนิ่งต่อ เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกายได้

ระวังโรคติดต่อ ที่มากับน้ำท่วม

โรคระบบทางเดินหายใจ (ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม)

  • อาการสำคัญ ไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร

การป้องกัน

  • ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เช็ดตัวให้แห้ง หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด
  • ปิดปากและจมูกเวลาไอ หรือ จาม
  • ล้างมือเป็นประจำ ด้วยน้ำและสบู่

โรคระบบทางเดินอาหาร (ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ และโรคตับอักเสบ)

  • อาการสำคัญ ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือมีมูกเลือด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร หรือตัวเหลือง ตาเหลือง

การป้องกัน

  • ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด อาหารกระป๋องที่ยังไม่หมดอายุ กระป๋องไม่บวมหรือเป็นสนิม
  • ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำจากขวดที่ฝาปิดสนิท น้ำต้มสุก
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนทำอาหาร ก่อนทานอาหาร และหลังการขับถ่าย
  • ห้ามถ่ายอุจจาระลงในน้ำโดยตรง ถ้าส้วมใช้ไม่ได้ ให้ถ่ายลงในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในถุงขยะ

โรคฉี่หนู (หรือโรคเลปโตสไปโรซิส)

อาการสำคัญ มีไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่องและโคนขาหรือปวดหลัง อาจมีอาการตาแดง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสน

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน
  • ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบู๊ทยาง
  • รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งอยู่เสมอโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลนต้อง

โรคน้ำกัดเท้า

  • อาการโรคน้ำกัดเท้า เท้าเปื่อยและเป็นหนอง คันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย มีผื่นผุพอง ผิวหนังอักเสบบวมแดง

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน
  • ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบู๊ทยาง
  • รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งอยู่เสมอโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลนต้อง

โรคตาแดง

  • อาการสำคัญ ตาแดง ระคายเคืองตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตา หนังตาบวม

การป้องกัน

  • ล้างด้วยน้ำสะอาดทันทีถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตา
  • ไม่ควรขยี้ตาด้วยมือที่สกปรก อย่าให้แมลงตอมตา
  • แยกผู้ป่วยตาแดงออกจากคนอื่นๆ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกันเพื่อป้องกันการระบาดของโรค

ไข้เลือดออก

  • อาการสำคัญ มีไข้สูงลอย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง จุดเลือดออกตามผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน

การป้องกัน

  • ระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวัน
  • นอนในมุ้ง ทายากันยุง
  • กำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยปิดฝาภาชนะเก็บน้ำไม่ให้มีน้ำขัง

 

อุบัติเหตุและการถูกสัตว์ร้ายมีพิษกัดต่อย

  • อุบัติเหตุที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ ไฟดูด จมน้ำ เหยียบของมีคม อันตรายจากสัตว์มีพิษที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ งู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือน

การป้องกัน

  • ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัทเอาท์ตัดไฟฟ้าในบ้านก่อนที่น้ำจะท่วมถึง
    เก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามทางเดินอย่างสม่ำเสมอ

ปวดหลังเรื้อรัง อย่านิ่งนอนใจ

ปวดหลังเรื้อรัง อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

พบการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังเต็มรูปแบบกับสถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ

โรค Office Syndrome เป็นปัญหาสุขภาพที่มักพบบ่อยในคนวัยทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่กับที่ และ

จ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรค Office Syndromeได้มากกว่ากลุ่มอื่น ส่วนใหญ่เป็นอาการที่เกิดจาก

การอักเสบ และเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดอาการปวดคอ ปวดตามตัวรวมถึงการปวดหลังเรื้อรังตามมา

นพ.สาริจฉ์ ศรีสุภาพ ศัลยแพทย์กระดูกสันหลัง สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า การปวดหลังเรื้อรังถือเป็นลักษณะอาการสำคัญอย่างหนึ่งของโรค Office Syndrome ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทำงานออฟฟิศในทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหาร พนักงานปฏิบัติการ รวมถึงงานในสายการผลิต ซึ่งเกิดจากมูลเหตุสำคัญ 2 ประการด้วยกันคือ คุณภาพของกล้ามเนื้อที่แย่ลง จากการขาดความเอาใส่ใจในการออกกำลังกาย และประการที่สองอิริยาบทในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งนาน การนั่งหลังค่อม นั่งยกไหล่ หรือแม้แต่การปรับตำแหน่งจอคอมพิวเตอร์สูง หรือต่ำจนเกินไป ส่งผลให้ต้องก้มหรือเงยจนก่อให้เกิดอาการปวดคอและปวดหลังเรื้อรัง แต่ก็นับว่าโชคดีที่อาการปวดตามส่วนต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณหลังที่เกิดจากโรค Office Syndrome ส่วนใหญ่เมื่อเป็นแล้วมักจะไม่รุนแรง สามารถทุเลาได้เองหากได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอหรือได้รับการรักษาในเบื้องต้นอย่างเช่น การประคบเย็น ประคบร้อน หรือการรับประทานยา เป็นต้น

“โรค Office Syndromeสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 30 นาที ทุกๆ 4-5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้คนทำงานออฟฟิศที่ต้องนั่งนานๆ ทั้งหลายยังควรพักและเปลี่ยนอิริยาบทในทุกๆ 1-2 ชม.เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ทำงานหนักและล้าได้ผ่อนคลาย ด้วยวิธีง่ายๆ อย่างเช่น การบิดขี้เกียจหรือที่เรียกว่า การ Streching คือการเหยียดกล้ามเนื้อให้ตึงและทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและลดอาการเกร็งตัว ตลอดจนอาการปวดกล้ามเนื้อได้มาก”

อย่างไรก็ดีจะพบว่ามีโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังบางโรคที่มีรูปแบบอาการคล้ายคลึงและแฝงตัวมาในลักษณะของโรค Office Syndrome แต่มีความรุนแรงและเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางกระดูกสันหลังที่ร้ายแรง เช่น กระดูกสันหลังตีบแคบไปเบียดเส้นประสาท หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท วิธีสังเกตอาการของโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่เมื่อมีอาการปวดร่วมกับการชา ปวดร้าวไปยังบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย การควบคุมการทำงานของอวัยวะผิดเพี้ยน เช่น ลายมือเปลี่ยน หรือมีอาการ night pain คือการปวดอย่างรุนแรงในตอนกลางคืน นอกจากนี้เมื่อได้พักผ่อนและรับการรักษาในเบื้องต้นแล้วอาการดังกล่าวยังคงไม่ดีขึ้น ให้สงสัยว่าเป็นอาการปวดหลังที่ไม่ปกติจึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

นพ.สาริจฉ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า แพทย์ที่มีความชำนาญจะมีขั้นตอนในการพิจารณาอาการอย่างละเอียดก่อนให้การรักษา โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญ 4 ประการ คือ

1.ความรุนแรงของอาการปวด ดูว่าคนไข้มีอาการปวดที่ไปรบกวนการทำกิจวัตรประจำวันมากน้อยเพียงใด

2.ความต้องการยาเพื่อควบคุมอาการปวดนั้น

3.การตรวจร่างกายและพบว่ามีอาการรบกวนเส้นประสาท เช่น ผู้ป่วยรู้สึกชาหรืออ่อนแรงมากขึ้น รวมถึงการคดของกระดูกสันหลัง

4.ข้อมูลจากการตรวจพิเศษ เช่น เอกซเรย์ MRI ในกรณีที่จำเป็น

“หลังจากประเมินอาการตามหลักเกณฑ์ทั้ง 4 ประการที่กล่าวมาแล้ว แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่การรักษาเบื้องต้นโดยการปรับเปลี่ยนอิริยาบท ควบคุมน้ำหนักตัว การรับประทานยา รวมไปถึงการทำกายภาพบำบัด แต่หากอาการไม่ดีขึ้นการรักษาเฉพาะทางด้วยวิธีการผ่าตัดจะเข้ามาเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคทางกระดูกสันหลังที่มีประสิทธิภาพ”

โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำที่มุ่งมั่นให้การรักษาผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล ล่าสุดได้จัดตั้งสถาบันกระดูกสันหลังกรุงเทพขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการรักษาผู้ป่วยโรคทางกระดูกสันหลังอย่างเต็มรูปแบบผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างศัลยแพทย์กระดูกสันหลังและศัลยแพทย์ระบบประสาท พร้อมด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีในการรักษาที่ทันสมัยช่วยให้การผ่าตัดสามารถทำได้เร็วขึ้น แผลผ่าตัดเล็กเจ็บน้อย ช่วยลดอัตราเสี่ยง และใช้เวลาในการพักฟื้นไม่นาน ประกอบด้วย

1. กล้องผ่าตัดทางจุลศัลยกรรม (Microscope) เป็นกล้องขยายกำลังสูงที่ช่วยให้แพทย์มองเห็นเส้นประสาท และหมอนรองกระดูกสันหลังที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน ทั้งยังมีแสงไฟจากตัวกล้องส่องตรงไปยังบริเวณจุดที่เป็นปัญหาทำให้สามารถมองเห็นได้ทุกซอกมุม ป้องกันโอกาสที่เส้นประสาทจะได้รับความบอบช้ำอันเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ทั้งยังช่วยลดความจำเป็นในการเปิดแผลขนาดใหญ่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บน้อยลงและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

2. เครื่องช่วยผ่าตัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์สร้างภาพแบบสามมิติ ประกอบด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โออาร์ม (O-Arm) ที่ทำงานร่วมกับเครื่องมือผ่าตัดนำวิถี (Navigation system) เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด โดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะบันทึกภาพกระดูกสันหลังขณะผ่าตัด แสดงผลในรูปอนิเมชั่น 3 มิติ เมื่อทำงานร่วมกับเครื่องนำวิถี (Stealth) จะช่วยให้การประเมินระยะและการกำหนดตำแหน่งผ่าตัดทำได้แม่นยำมากถึงระดับมิลลิเมตร

3. เครื่องมือติดตามการทำงานของระบบประสาทขณะผ่าตัด (Intraoperative Monitoring : IOM) ช่วยติดตามการทำงานของระบบประสาทในรูปคลื่นไฟฟ้า และส่งสัญญาณเตือนให้แพทย์รับทราบถึงโอกาสเสี่ยงในการสร้างความบอบช้ำหรือความเสียหายต่อเส้นประสาท เหมาะสำหรับการผ่าตัดซ้ำหรือการผ่าตัดในกรณียากๆ เช่น ภาวะกระดูกสันหลังผิดรูป กระดูกสันหลังเคลื่อนอย่างรุนแรง เป็นต้น

นพ.สาริจฉ์ ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ถึงแม้ทางโรงพยาบาลกรุงเทพจะมีความพร้อมทั้งบุคลากรที่มีคุณภาพและเทคโนโลยีอันทันสมัยในการดูแลรักษาผู้ป่วยแต่การเอาใจใส่ดูแลร่างกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การรักษาสามารถทำได้อย่างสมบูรณ์และก่อให้เกิดผลสำเร็จสูงสุด

มะเร็งปากมดลูก ใครกันที่เสี่ยงเป็น

ใครเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก
โรคมะเร็งปากมดลูกพบในผู้หญิงตั้งแต่อายุก่อน 30 จนถึง 80 ปี โดยพบมากในช่วงอายุ 35 – 50 ปี พฤติกรรมของผู้หญิงไทยส่วนใหญ่มักคิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และรู้สึกเขินอายกลัวที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นกว่าจะรู้ตัวว่ามีอาการผิดปกติ ความรุนแรงของโรคก็มักอยู่ในระยะลุกลามยากต่อการรักษา

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก
โรคมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุหลักเกิดจาก

  • การติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การมีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน
  • การสูบบุหรี่
  • การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลายาวนาน
  • การตั้งครรภ์หรือมีบุตรหลายคน
  • ภูมิคุ้มกันไม่ดี
  • การละเลยไม่ไปตรวจภายในเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

อาการของมะเร็งปากมดลูก
อาการมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่เมื่อมะเร็งลุกลามแล้วอาจมีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด เช่น หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ หลังหมดประจำเดือน มีตกขาว ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด ซึ่งเกิดจากมะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง

วิธีการรักษา

ระยะก่อนลุกลาม

  1. การตรวจภายใน การทำแพปสเมียร์ และการตรวจด้วยกล้องขยาย (Colposcope) ทุก 4 – 6 เดือน รอยโรคขั้นต่ำบางชนิดสามารถหายไปได้เองภายใน 1 – 2 ปี
  2. การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า
  3. การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น
  4. การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด

ระยะลุกลาม การเลือกวิธีรักษาขึ้นกับโรคประจำตัวของผู้ป่วยและระยะของมะเร็ง

  • ระยะที่ 1 และ 2 บางราย รักษาโดยการตัดมดลูกออกแบบกว้างร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองเชิงกรานออก
  • ระยะที่ 2 – 4 รักษาโดยการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด

การป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การสูบบุหรี่
  2. ตรวจคัดกรองความผิดปกติของปากมดลูก โดยการตรวจแพปสเมียร์ (Pap Smear) และ การตรวจหาเชื้อ HPV
  3. การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV

โรคมะเร็งปากมดลูก สามารถป้องกันได้โดยลดพฤติกรรมเสี่ยง เพียงรู้วิธีการป้องกันตนเอง และหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอรวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV”

วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คือ วัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV โดยฉีดทั้งหมด 3 เข็ม

เข็มแรก ฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อ

เข็มที่ 2 ฉีดห่างจากเข็มแรก 1 – 2 เดือน

เข็มที่ 3 หลังจากฉีดเข็มแรก 6 เดือน

“วัคซีนนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อฉีดให้กับเด็กผู้หญิงอายุ 9 – 14 ปี หรือผู้ที่ยังไม่ผ่านการเพศสัมพันธ์มาก่อน แต่หากเป็นสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว วัคซีนจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ที่ยังไม่มีการติดเชื้อ HPV หรือไม่มีเซลล์ผิดปกติ “

ปัจจุบันวัคซีนมี 2 ชนิด สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ความเสี่ยงสูง โดยเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่ถึง 75% ประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งสองชนิดในการป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ 16 และ 18 สูงเกือบ 100% ชนิดแรกคือ

วัคซีน Cervarix (2 สายพันธุ์) อีกชนิดคือ วัคซีน Gradasil (4 สายพันธุ์) ซึ่งเพิ่มการป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6, 11 ที่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ แต่อย่างไรก็ดี นอกจากฉีดวัคซีนแล้ว ก็ควรไปตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

โรคไต กับการกิน กินอย่างไรถึงจะดี

คนไทย 3 ใน 4 เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต การบริโภคโซเดียมที่เกินความต้องการ ทำให้คนไทยเสียชีวิตถึงปีละกว่า 20,000 คน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำสะอาด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ลดการบริโภคเค็มจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกิดจากการบริโภคโซเดียมเกิน และช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้อีกด้วย

โซเดียม (Na) คือ เกลือแร่ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวและเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ ตลอดจนการดูดซึมสารอาหารบางอย่างในไตและลำไส้เล็ก

โซเดียม มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่เมื่อได้รับมากเกินไปจะมีโทษต่อร่างกายเช่นเดียวกัน เมื่อโซเดียมในเลือดสูง จะดูดน้ำเข้าสู่หลอดเลือดเพื่อเจือจาง ทำให้แรงดันเลือดสูงขึ้น การรับประทานเค็ม หรือโซเดียมมากเกินความต้องการของร่างกายเป็นประจำ จะส่งผลทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองแตก อัมพาต อัมพฤกษ์

ปริมาณโซเดียมสูงสุดที่ร่างกายสามารถรับได้โดยไม่เกิดอันตรายนั้น ควรได้รับไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน โซเดียม พบได้ในอาหารธรรมชาติประมาณน้อยมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่เราจะได้รับโซเดียมปริมาณมากจากอาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป และเครื่องปรุงรสเป็นหลัก

วิธีการลดการบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

1. ชิมอาหารก่อนปรุงทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงรสเค็มเพิ่ม เช่น น้ำปลา ซีอิ้วขาว เกลือ ซอสต่าง ๆ
2. เลือกรับประทานอาหารสด หรืออาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด
3. ปรุงอาหารด้วยตนเอง ควรลดปริมาณเครื่องปรุงรสในอาหาร เช่น น้ำปลา ซอสปรุงรส ซีอิ้ว น้ำมันหอย ผงชูรส และควรตวงก่อนปรุงรสทุกครั้ง
4. ลดใช้เครื่องปรุงในอาหาร เช่น ผงปรุงรส น้ำปลา เกลือ ซีอิ้ว ซอสปรุงรส เต้าเจี้ยว
5. อ่านฉลากโภชนาการทุกครั้ง เลือกอาหารที่มีโซเดียมน้อยที่สุด
6. หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
7. ใช้รสชาติอื่นทดแทน เช่น รสเปรี้ยว และรสเผ็ด
8. ใช้สมุนไพรเป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่นหอมของอาหาร
9. ระวังเกลือที่ซ่อนอยู่ในอาหาร อย่างเช่น ผงฟู ผงปรุงรส ผงชูรส